Green Technology เทคโนโลยีสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

9 ก.ค. 2567

Green Technology
Green Technology
Green Technology

ภาวะโลกร้อน หรือ climate change ที่เราได้ยินคุ้นหูกันดีนั้นมันมาจากการเปลี่ยนแปลงโดยเฉลี่ยของอุณภูมิโลกนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดสภาพอากาศที่แปรปรวน และภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะโลกร้อนนั้นยังส่งผลกระทบไปยังสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่บนโลก ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือแม้กระทั่งพืช    ที่ผ่านมาบนโลกใบนี้ก็มีบทเรียนมากมายที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนให้เห็นกัน ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว พายุถล่ม น้ำท่วม ไฟป่า หรือแม้แต่ฝุ่น pm 2.5 ที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณและต้นตอของปัญหาโลกร้อนนั้นก็เพราะผลของ green house effect หรือเรียกอีกอย่างว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากจำนวนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนชั้นบรรยากาศที่มากเกินไป และสำหรับชั้นบรรรยากาศของโลกนั้น มีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% และก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นก๊าซที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่นเดียวกับ ก๊าซมีเทน และไอน้ำ มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟาเรด ส่งผลทำให้อุณหภูมิโลกอบอุ่น และก๊าซเหล่านี้เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก  (green house gas) คุณสมบัติของมันคือกักเก็บความร้อน หากบนชั้นบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซตัวนี้ อุณภูมิบนผิวโลกก็จะติดลบ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิสูงที่นำไปสู่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และนำไปสู่ปรากฎการณ์เรือนกระจก และต้นเหตุของสภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพราะน้ำมือของมนุษย์

เมื่อโลกเริ่มเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม ระหว่างปี 1850-1950 เป็นช่วงเริ่มต้นของการเผาผลาญพลังงานและสร้างมลภาวะที่มีผลกระทบต่อโลก เพราะผลจากการผลักดันการผลิต และการเผาผลาญพลังงานเพื่อผลิตสินค้าและบริการ และเมื่อปี 1870 เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานไฟฟ้า และใช้สารเคมี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสียหายมากขึ้น และในปี 1920 คือ เป็นปีจุดเริ่มต้นของพลังงานฟอสซิล ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ และโลกได้รู้จักพลังงานรูปแบบใหม่ที่ได้จากการกลั่นปิโตเลียม และในช่วงเดียวกันเป็นยุคของการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาอย่างมหาศาล      แม้ว่าในอดีตกาล จะมีนักวิทยาศาสตร์เริ่มออกมาเตือน และตระหนักว่า ก๊าซบางชนิดที่ปล่อยไปบนชั้นบรรยากาศนั้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลก แต่ก็ยังโดนเพิกเฉย จวบจนในปี 1980 โลกเริ่มตื่นตัวมากขึ้น เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และเริ่มมีการร่างอนุสัญญาเพื่อกำหนดข้อจำกัดการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และไม่กี่ปีต่อมาเริ่มมีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) หรือการลงนามพิธีเกียวโต ในประเทศญี่ปุ่นที่มีเป้าหมายในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ และความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีมาตราการ ข้อตกลงร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิเฉลี่ยทั่วโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เริ่มใช้ในปี 2020      ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกร่วมลงนามในความตกลงปารีสรวมแล้ว 197 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงนามเข้าร่วมความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 และไทย ได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศโดยการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซให้ได้ร้อยละ 10-25 ภายในปี พ.ศ 2573

แล้วเราจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ยังไง

ในการลดก๊าซเรือนกระจกนี้ สามารถทำได้หลายระดับ ทั้งในระดับบุคคลถึงระดับองค์กรและภาคอุตสาหกรรมในส่วนของระดับบุคคล ก็สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การใช้ทรัพยากรให้รู้คุณค่า ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน ใช้น้ำอย่างประหยัด ลดการใช้พลาสติก แยกขยะ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมสำหรับในระดับองค์กร คือการลดจำนวน carbon footprint ขององค์กร เช่นลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน สนับสนุนพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด การควบคุมและจัดการของเสีย

ในปัจจุบันนี้กลุ่มธุรกิจ กลุ่ม SME และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มหันมาสนใจในเรื่อง green technology มากขึ้น มีการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ มาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน

Green technology คืออะไร

Green technology หรือเรียกอีกอย่างว่าเทคโนโลยีสีเขียว หรือเทคโนโลยีสะอาด เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการผลิตนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด อีกทั้งยังเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพื่อรักษาทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป Green technology ไม่แค่ช่วยในเรื่องของการลดคาร์บอน หรือรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังช่วยให้เรื่องของความยั่งยืนอีกด้วย

ความเป็นมาของ Green Technology

แรกเริ่มเดิมทีแล้วคอนเซปและที่มาของ green technology เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมในโลกในยุคโบราณ อย่างเช่น

  • ยุคสมัยอิยิปต์โบราณ ที่มีโครงสร้างอนุเสาวรีย์ ที่ใช้เทคนิคการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยใช้พลังงานหมุนเวียน และสร้างตึกให้รับพลังงานแสงธรรมชาติให้มากที่สุด

  • ยุคสมัยจีนโบราณ ที่เป็นผู้ริเริ่ม พลังงานสะอาด โดยคิดค้นเตาประหยัดพลังงาน หรือพัฒนาการเพาะปลูกโดยใช้ พืชหมุนเวียน

  • ในการปฎิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 คือจุดพลิกผัน ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามา ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นมลพิษทางอากาศ และทางน้ำ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปและในศตวรรษที่ 20 เริ่มมีการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มมีการลงทุนในเทคโนยีสีเขียวมากขึ้น

  • กรีนเทคโนโลยี เริ่มก่อตั้งในปี 1990s และเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงปี 2006 ถึง 2011 กลุ่มในบริษัท ร่วมทุน (VC) หรือ นักลงทุน เริ่มมีการลงทุนในบริษัท green-tech startups มากกว่า 25 พันล้านดอลล่าสหรัฐ

ทำไม Green technology ถึงมีบทบาทในปัจจุบัน

เพราะอุณภูมิของโลกเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แย่ลงขึ้นทุกวัน และระดับก๊าซคาร์บอนโดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกสูงถึง 420 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยมีในประวัติศาสตร์โลก และจากการรายงานของ UN (องค์การสหประชาชาติ) ระบุว่า ภายในปี 2030 – 2052 อุณหภูมิโลกจะแตะไปถึง 1.5 องศาเซลเซียส หากจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิจะมีผลกระทบทั้งต่อโลกและมาถึงมนุษย์เราอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนที่ส่งผลความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ผลผลิตจากธรรมชาติลดลง ส่งผลกระทบต่ออาหาร และสุขภาพของมนุษย์ซึ่งการแก้ไขและพลิกฟื้นสถานการณ์ที่ทำได้คือการลดและหยุดจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์และองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าหากทั่วโลกมีการเปลี่ยนไปลงกับพลังงานสะอาด จะทำให้โลกบรรลุเป้าหมาย net zero ภายในปี 2050 ได้

ประเภทของ Green technology มีอะไรบ้าง

Solar power คือ พลังงานโซลาร์ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ที่สามารถผลิตได้ทั้งกระแสไฟฟ้า และความร้อน ซึ่ง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน เช่นการติดแผงโซลาร์เซลแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้สำหรับการสูบน้ำในการเกษตรได้ด้วย

Wind power คือ การผลิตพลังงานโดยใช้ลม ซึ่งเป็นการนำการเคลื่อนที่ของลมมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยเครื่องจักรกลที่เรียกว่า “กังหันลม” และสามารถนำพลังงานมาใช้ประโยชน์โดยตรงเช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ

Water power คือ พลังงานน้ำ เป็นพลังงานธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยกำลังจากการเคลื่อนที่ของน้ำ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น และพลังงานน้ำตก พลังงานรูปแบบนี้น้ำมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ประใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปทั้งการผลิตไฟฟ้า

geothermal energy คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นการเจาะแกนกลางของโลกที่มีความร้อนถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการเจาะเพื่อให้น้ำร้อนที่อยู่ในโพรงของชั้นหินลอยขึ้นมาจากพื้นดิน สูงไปยันชั้นบรรยากาศ ทำให้เมฆก่อตัวแล้วตกลงมาเป็นฝน และใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

Biofuel คือ เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นสสารที่ได้จากพืชและสัตว์ที่มาจากการสร้างหรือการย่อยสลาย รวมไปถึงขยะจากการเกษตรและอุตสาหกรรม

Biogas คือ แก๊สชีวภาพ เป็นแก๊สที่เกิดโดยธรรมชาติจากการย่อยสลายของอินทรีย์ในสภาวะไร้แก๊สออกซิเจน ภายใต้อุณภูมิและความชื้นที่เหมาะสม โดยแก๊สที่ได้เหล่านี้สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเป็นแก๊สหุงต้มได้

Green Medical and Healthcare คือ แนวคิดและการปฏิบัติที่โรงพยาบาลมุ่งเน้นการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านการดูแลสุขภาพ แนวคิดนี้รวมถึงการลดการใช้ทรัพยากร, การลดการปล่อยของเสีย, การใช้พลังงานทางเลือก, วัคซีน, และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลและโรงพยาบาล ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยได้ ผลักดัน และสนับสนุนนักวิจัย เนื่องจากพอมีนวัตกรรมเรื่องวัคซีนที่ดีเข้ามา ทำให้ตอบโจทย์ BCG และเรื่องกรีนมากขึ้น

Smart Farming คือ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยเทคโนโลยีเหล่านี้รวมถึงการใช้เซนเซอร์, ระบบนำร่องด้วย GPS, อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานของฟาร์มได้อย่างแม่นยำ

คุณเห็นความสำคัญของ green tech แล้วหรือยัง

Green Technology เป็นตัวการสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ อีกทั้งมนุษย์ยังสามารถคิดค้นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสีเขียวนี้ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสะอาด (clean tech) หรือเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ (climate tech)

บทความที่น่าสนใจ